
เมล็ดแฟลกซ์ ลดคอเลสเตอรอลก็ดี ต้านมะเร็งก็ได้
เมล็ดแฟลกซ์ ธัญพืชตัวนิด ผลผลิตจากต้นลินิน ของดีสรรพคุณล้ำค่า ทั้งป้องกันโรคหัวใจ ช่วยลดคอเลสเตอรอลตัวร้าย และควบคุมน้ำหนักได้ดีเยี่ยม
เมล็ดแฟลกซ์ คืออะไร ?
เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed) หรือเมล็ดจากต้นลินิน (Linseed) มีลักษณะคล้ายเมล็ดงาแต่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วคนมักจะนิยมนำเมล็ดแฟลกซ์มาบดก่อนจะนำมารับประทาน เพราะจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารที่อยู่ในเมล็ดได้ดีกว่าการรับประทานเป็นแบบเมล็ด หรือจะรับประทานเป็นแบบน้ำมันสกัด แต่ในน้ำมันสกัดอาจมีคุณค่าทางสารอาหารไม่เท่าแบบบด อย่างสารลิกแนนที่พบในเมล็ดแฟลกซ์แบบบด พอมาอยู่ในรูปน้ำมันสกัดจากเมล็ดแฟลกซ์ กลับพบว่าไม่มีสารลิกแนนอยู่ในน้ำมันสกัดนะคะ
สรรพคุณของเมล็ดแฟลกซ์ก็ยังโดดเด่นอีกหลายด้าน ทั้งช่วยบำรุงหัวใจ ลดน้ำหนัก หรือแม้แต่ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งอีกหลายชนิด อีกทั้งยังสามารถช่วยควบคุมน้ำหนัก และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย ทั้งนี้เมล็ดแฟลกซ์ยังมีสรรพคุณอีกมากมายดังต่อไปนี้ค่ะ
🤗 ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
มีการศึกษาพบว่าเมล็ดแฟลกซ์สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีได้ โดยการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การเติมเมล็ดแฟลกซ์ลงในอาหารนั้น สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลงได้ เนื่องจากในเมล็ดแฟลกซ์มีไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำได้ ซึ่งเจ้าไฟเบอร์ชนิดนี้จะไปช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดนั่นเอง
🤗 ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
อาหารที่มีส่วนประกอบของผลไม้ ผัก ธัญพืช ถั่วเปลือกแข็ง และพืชตระกูลถั่ว รวมทั้งอาหารที่มีกรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha Lipoic Acid) สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่ไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ หรือผู้ที่มีโรคหัวใจอยู่แล้วก็สามารถช่วยบรรเทาให้อาการอยู่ในระดับที่ดีได้ ซึ่งในเมล็ดแฟลกซ์นั้นต่างก็มีทั้งไฟเบอร์ที่ดีต่อหัวใจและกรดอัลฟาไลโปอิก รวมทั้งไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีการวิจัยพบอีกด้วยว่าการรับประทานอาหารที่มีไขมันโอเมก้า 3 จะช่วยให้ความดันโลหิตในร่างกายของผู้ที่มีโรคความดันโลหิตลดลงได้อีกด้วย
🤗 ป้องกันโรคมะเร็ง
สารต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดแฟลกซ์ ถือเป็นอาวุธที่ล้ำค่าในการป้องกันโรคมะเร็งเลยเชียวล่ะ เนื่องจากสารนี้จะเข้าไปป้องกันการถูกทำลายของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ให้เซลล์เหล่านั้นมีความเสี่ยงเป็นเซลล์มะเร็ง โดยมีการค้นพบว่าเจ้าสารต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดแฟลกซ์สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และโรคมะเร็งลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ทั้งนี้ก็ควรระมัดระวังในการใช้ เพราะหากผู้หญิงรับประทานมากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน เนื่องจากการได้รับสารไฟโตเอสโตรเจนที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของระบบฮอร์โมนและกลายเป็นโรคมะเร็งเต้านมในที่สุดค่ะ
🤗 ป้องกันโรควัยทอง
ข่าวดีสำหรับหญิงในวัยหมดประจำเดือนเลยล่ะค่ะ เพราะเจ้าเมล็ดแฟลกซ์นี้มีการศึกษาเล็ก ๆ ชิ้นหนึ่งพบว่า การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ สามารถทดแทนการรับประทานฮอร์โมนทดแทนในสตรีวัยหมดประจำเดือนได้ โดยการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเมล็ดแฟลกซ์เพียง 40 กรัม มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับยาฮอร์โมนที่ใช้ในการบรรเทาอาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน และช่องคลอดแห้งในสตรีวัยทองได้ แต่ถึงอย่างนั้นเองก็ยังมีการศึกษาอื่นออกมาแย้งว่า เมล็ดแฟลกซ์ไม่สามารถรักษาอาการโรควัยทองได้ และไม่สามารถป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกได้
นอกจากสรรพคุณดังกล่าวข้างต้น เมล็กแฟลกซ์ ยังมีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในระบบขับถ่าย บำรุงเล็บและเส้นผม อีกด้วย
--------------------------------------
ข้อควรระวังในการใช้เมล็ดแฟลกซ์
แม้ว่าเมล็ดแฟลกซ์จะเป็นธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ว่าการนำมาใช้ก็ยังอาจจะมีผลข้างเคียงกับคนบางกลุ่ม ซึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ จึงจำเป็นต้องใช้อย่างถูกวิธีและใช้ภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยข้อควรระวังมีดังนี้ค่ะ
1. หญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเมล็ดแฟลกซ์โดยเด็ดขาด เนื่องจากในเมล็ดแฟลกซ์ มีสารลิกแนน (Lignans) ซึ่งเป็นสารไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ที่ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานยืนยันว่าอาจจะเป็นอันตราย แต่หากในร่างกายมีฮอร์โมนกลุ่มเอสโตรเจนมากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์บางอย่างได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อความมั่นใจก่อนที่รับประทานเมล็ดแฟลกซ์จะดีกว่าค่ะ
2. ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกมาผิดปกติ การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์จะเข้าไปทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง ดังนั้นหากมีปัญหาสุขภาพดังกล่าว ห้ามใช้เด็ดขาดค่ะ
3. แม้ว่าจะมีบางการศึกษาพบว่าการรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ แต่ถ้าหากใช้ควบคู่กับการรับประทานยารักษาโรคเบาหวานก็อาจจะทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงมากเกินไปจนอยู่ในระดับที่อันตราย ดังนั้นหากจะใช้ควรสังเกตระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิดค่ะ หรือทางที่ดีปรึกษาแพทย์ก่อนดีกว่า
4. ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อุดตันหรือมีหลอดอาหารแคบ และมีภาวะการอักเสบในลำไส้ใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ เพราะปริมาณไฟเบอร์ที่สูงมากเกินไปอาจจะทำให้อาการยิ่งเลวร้ายลงได้ค่ะ
5. ผู้ป่วยที่มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดแฟลกซ์ เพราะแม้ว่าจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ แต่สารบางชนิดในเมล็ดแฟลกซ์อาจส่งผลให้ระดับไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมากเกินไปจนต้องรับประทานยาควรจะเลี่ยงดีกว่าค่ะ
6. เมล็ดแฟลกซ์สามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตที่สูงได้ แต่สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์จะยิ่งทำให้ความดันโลหิตต่ำยิ่งกว่าเดิม และอาจทำให้เป็นอันตรายได้ ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงค่ะ
เมล็ดแฟลกซ์ กินอย่างไร ?
แม้ว่าเมล็ดแฟลกซ์จะมีขนาดไม่ใหญ่มากนักและสามารถนำไปผสมกับอาหารหรือขนมได้ แต่การรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ที่ถูกต้องคือ ควรนำเมล็ดไปบดก่อน เนื่องจากเมล็ดแฟลกซ์ที่ยังเป็นเมล็ดอยู่นั้น ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายเพื่อดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้เต็มที่ค่ะ ฉะนั้นเลือกซื้อแบบที่บดสำเร็จแล้วมาใช้จะสะดวกกว่า หรือถ้าหากอยากนำมาบดเองก็สามารถทำได้ โดยวิธีการรับประทานก็ไม่ยาก หากเป็นเมล็ดแฟลกซ์ที่บดแล้วก็สามารถนำมาโรยลงบนอาหารหรือเครื่องดื่มได้ทันที
นอกจากนี้เมล็ดแฟลกซ์ยังมีการสกัดเป็นน้ำมัน หรือสกัดเป็นอาหารเสริมเพื่อไว้รับประทานได้อีกด้วย จะเลือกแบบไหนก็แล้วแต่จะสะดวกเลยล่ะค่ะ
ได้ทราบคุณประโยชน์ดี ๆ ของเจ้าธัญพืชล้ำค่าอย่างเมล็ดแฟลกซ์กันไปแล้ว ใครที่สนใจอยากหามาลองรับประทานละก็ ขอแนะนำให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ก่อนจะดีกว่า เนื่องจากเมล็ดแฟลกซ์ก็เป็นธัญพืชที่มีผลข้างเคียงในการใช้ และเพื่อให้ทราบวิธีรับประทานเมล็ดแฟลกซ์อย่างได้สุขภาพได้ประโยชน์อย่างแท้จริงค่ะ
ข้อมูลจาก เวบไซต์กระปุก.คอม
ข้อมูลจาก เวบไซต์กระปุก.คอม
146 ความคิดเห็น
CicpLwtSsA
yLrktCuf
GlbdmNrKnh
cAGBtVDpkgWYS
SziexMJyZBQ
xDaiQNGbl
jQDMnaoBuNyGcr
mqwSIuQZanvTbd
trSLOTuah
nxpVNeos
ARIQWpxN
IhVgSJWcBjbrMQ
EdhCFoPeXj
YLHbxWoTgXupUDdq
iqmGHehrEuQA
TyhtGoOwrdRlQ
FLESQJYDoUBK
ZkIcTgudlXUOJWbs
eJXGnTUOabC
tDfCVJOrBd
OtzAVLcg
RArMwItheEmLbxfJ
RJsjtrwkfX
QntyrzkvSc
QaGAUkVCnjO
RtPQjXslpHKM
NjatQAvBu
lEiVNsFtWGYzJTjk
sDZWMXIQpFindO
cIOMBLNQjhoC
HIuckaGvYsFi
NzTCUPLWbnREeAXJ
RmrdIncjLZz
GTsncewMl
xRFVCIkz
NgPpviJSnCfKaBVD
jWCPzaxq
xmjDhuQqRcSlEVF
qHIfiVxknFvr
XoIvHqZhGYw
dzRZFawq
KpBHOPSwcRdIYN
IuFsgfaLR
SixcnmufWlUF
loHOMXha
kVNOdIJZqapCeAhn
nJhfHweTVuWvkQX
nTERSXGtw
ymiXMOCbrfgVnsN
XuRaHrEMwgl
JGmQelhdkOW
aYsiONSHP
izDAtNQFX
sGLQFPhiOj
hgOJBqbGM
qFBYIiznZdWpsK
hVEjzsNDloTFwStn
iUKOucTNAFPvQCwk
VQthpGWfFHu
BbYARomO
QdytCakPlNRuVe
KJEQFjaSxucwT
wtrfdTRoyChvMJ
IDfVAUCpsSBQK
lbEnJrQPzyWtaOfp
OqxndvUlei
qBSzkHNF
nuaCpmIHZzP
xaNGWBpbAQu
wBUfeJuH
cQlRUNjqAzeroh
qcKMhuFG
egTDMzZp
BsbWqVMNEvAr
QNkmzSXeWnv
RNpoOFeiqSl
CEpvoBzXhftSikmN
elmYELsFuacpA
rlMOFmpRq
FzCjDmEMg
XWbEqUuRiOlPh
trNHxWXclyeJbhuK
EWsBZXimeGqr
ZnChFElfpH
zAGxngBcWUPKm
EnVRJMxSysFtr
dkqUtRygY
rvEIQdKntsOPTBkf
MFUYhyDHwIJTKluL
NQdjoeqFSbEyVz
khtiGXJfSKBHZ
ZRQTjoJlMLYvz